ลองแล้วมาเล่า : GWENT - The Witcher Card Games Kill The Server Edition
ใครที่เคยสัมผัสเกมที่ดีที่สุดแห่งปี 2015 นาม The Witcher 3: Wild Hunt ย่อมไม่มีใครไม่รู้จักเกมการ์ดชื่อดังเล่นกันแทบทุกคน 'Gwent' เกมการ์ดกฏง่ายๆ แต่วัดดวง ความจำ และจังหวะในการใช้การ์ดพลิกผันสถานการณ์ที่เหมาะสม เป็นเกมการ์ดที่ทุกคนในดินแดน Tameria นั้นต้องรู้จัก ประหนึ่งบ้านเรารู้จักไพ่ Poker นั่นแหละ และใครที่ติดตามงาน E3 2016 ที่ผ่านมาก็จะต้องทราบเช่นกันว่าทาง CD Projeck RED ผู้ที่เล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ของ Gwent ที่สามารถต่อยอดไปได้อีกไกลนั้นได้ตัดสินใจพัฒนาเกมที่เน้นเกมการ์ด Gwent ล้วนๆ 'Gwent - The Witcher Card Games' ขึ้นมา ให้สาวก Gwent ที่เล่นในเกมแล้วไม่อิ่มนั้นสามารถสัมผัสเมื่อไหร่ เวลาใดก็ได้ตามต้องการไม่ต้องไปวิ่งหา NPC ในเกมเพียงเพื่อเล่น Gwent กันอีกต่อไป
เมื่อวันก่อนผมได้มีโอกาสแทรกตนเองเข้าไปในช่วง Kill The Server ได้ วันนี้ก็เลยจะมาบ่นยาวๆ เกี่ยวกับเกมนี้ให้อ่านกันว่า มันเป็นอย่างไรบ้าง ตามมากันเลย
Gwent - The Witcher Card Games นั้น ถ้าใครเคยเล่น Gwent ใน The Witcher 3 มาก่อนก็น่าจะคุ้นเคยกับกฏระเบียบได้ไม่ยาก ผู้เล่นทั้งสองฝั่งจะได้รับการ์ดในสำรับคนละ 10 ใบโดยประมาณ หน้าที่ของเราก็คือเราจะต้องวางการ์ดยูนิตของเราอย่างไรก็ได้ให้มีคะแนนที่สูงกว่าฝั่งคู่แข่ง การ์ดแต่ละใบก็จะมีตัวเลขค่าบอกแตกต่างกันไป ต่างกับเกมการ์ดอื่นๆ นี่ไม่ใช่เกมการ์ดแนวที่ว่าต้องอ่านความสามารถ แล้วโจมตีการ์ดคู่แข่งหรือตัวคู่แข่งเหมือนพวกยูกิอะไรแบบนั้น นี่เป็นเกมการ์ดเรียบง่ายที่วัดกันว่าใครดวงดีและวางการ์ดได้ถูกจังหวะกว่ากันเป็นหลักมากกว่า ใครมีคะแนนเยอะกว่ากันก็ชนะศึกไป แต่ละรอบนั้นผู้เล่นฝั่งใดฝั่งหนึ่งจำเป็นที่จะต้องชนะ 2 ใน 3 รอบจึงจะถือว่าชนะอย่างแท้จริง
ยูนิตของเราจะแยกออกเป็นสามหมวด หมวดโจมตีประชิด หมวดมือธนู โจมตีระยะไกล และหมวด Siege เครื่องมือสงคราม (จำพวกเครื่องยิงหินอะไรเทือกนี้) แต่ละยูนิตก็จะแยกประเภทออกกันไปอย่างชัดเจน ดาบก็อยู่ส่วนดาบ ธนูก็อยู่ส่วนธนู เป็นต้น ทั้งนี้การแยกหมวดไม่มีผลใดๆ ต่อเกมครับ ทุกอย่างสำคัญอยู่ที่ค่าคะแนนของไพ่ยูนิตตัวนั้นๆ อย่างเดียว ดังนั้นวางๆ ไปเถอะถ้ามันทำให้เรามีโอกาสชนะ ไม่ต้องเสียดายหรือกังวลว่ามันมีธนูเยอะเรามีแต่การ์ดโจมตีประชิดแบบนี้เสียเปรียบแน่นอนอะไรเทือกนี้ เพราะทุกอย่างในเกมนั้นขึ้นอยู่กับคะแนนรวมของทุกๆ ยูนิตอย่างเดียวครับ
ใน The Witcher 3 มีการ์ดเพียงสองระดับในขณะที่ Gwent ถูกเพิ่มเป็นสามระดับด้วยกัน นั่นคือทองแดง เงิน และทอง ใน The Witcher 3 จะมีเพียงการ์ดเงินที่เปรียบเสมือนการ์ดธรรมดา และการ์ดทอง ซึ่งหมายถึงการ์ดฮีโร่ มักจะมีค่าพลังที่สูง แต่ Gwent จะมีการ์ดทองแดงเพิ่มเข้ามา เป็นระดับที่ต่ำกว่าเงินและมักจะไม่ได้มีค่าอะไรนัก การ์ดสีทองมีความพิเศษคือไม่มีอะไรสามารถทำร้ายการ์ดสีทองได้ หมายถึงว่าไม่ว่าฝั่งตรงข้ามจะใช้เอฟเฟคต์ใด การ์ดสีทองก็จะไม่ได้รับผลกระทบ ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถรับบัฟเพิ่มค่าคะแนนได้เช่นกัน เป็นการ์ดที่มีจำนวนน้อยและผู้เล่นควรจะเก็บเอาไว้ใช้ในยามจำเป็นเท่านั้น
การ์ดแต่ละใบก็จะมีการแยกคุณภาพออกไปอีกหลายระดับ ทั้งนี้ผมยังไม่แน่ใจว่ามีกี่ระดับ แต่เท่าที่เจอก็มี Common, Epic, Rare เป็นหลัก คาดว่าน่าจะหมายถึงความหายากเป็นหลัก อย่าง Common ก็จะดรอปจากในเกมเลย แต่ Rare จำเป็นต้องร่วมกิจกรรมอะไรบางอย่างจึงจะได้มาอะไรทำนองนี้
ใน Gwent เองนั้นยังมีการ์ด Special Effect ที่จะช่วยหรือทำร้ายผู้เล่นเสียเองเพิ่มเข้ามามากมาย จากใน The Witcher ที่มีแค่การ์ดที่จะเผายูนิตฝั่งตรงข้ามที่มีแต้มสูงๆ หรือการ์ดเปลี่ยนสภาพอากาศของแถวๆนั้น ให้ค่าของทุกยูนิตถูกลดเหลือ 1 ทุกใบของหมวดๆนั้น มาใน Gwent คุณจะได้พบกับนักเวทย์ที่สามารถเลือกได้ว่าจะร่ายพายุหิมะ ที่จะลดคะแนนยูนิตโจมตีประชิดของฝั่งตรงข้ามให้เหลือ 1 ทุกตัว, หมอกที่จะลดคะแนนยูนิตโจมตีไกลให้เหลือ 1 และฝนที่จะลดคะแนนยูนิต Siege เหลือ 1, การ์ดกำจัดไพ่ยูนิตที่มีคะแนนต่ำที่สุดในสนาม และอีกมากมายอธิบายกันได้ทั้งวัน
ยูนิตส่วนใหญ่ใน Gwent นั้น ต่างกับ The Witcher 3 ที่ส่วนใหญ่มักจะไม่มี Status ความสามารถพิเศษใดๆ แทบทุกตัวใน Gwent จะมีความสามารถพิเศษหมด นี่ทำให้ผู้เล่นจำเป็นต้องมีการวางแผนมากกว่าเดิม ไพ่ยูนิตบางใบจะเพิ่มพลังหากถูกฟื้นคืนชีพภายในสุสาน ไพ่ยูนิตบางตัวจะยังอยู่ในสนามแม้ว่าจะเริ่มรอบใหม่แล้วก็ตาม บางตัวก็อาจจะจั่วการ์ดให้ฝั่งเราสองใบ แลกกับฝั่งศัตรูขั่งการ์ดตัวเองหนึ่งใบอะไรทำนองนี้
ทั้งนี้ผู้เล่นทุกคนจำเป็นต้องเลือกสำรับเสียก่อนที่จะตะลุยไปในโลกของ Gwent ได้ สำรับภายในเกมนั้นจะแยกเป็นฝั่งๆ อาทิฝั่ง Monster เน้นหมาหมู่ และพลังโจมตี, ฝั่งเอลฟ์และคนแคระที่มักจะเน้นยูนิตธนู ฝั่งเหนือที่ชื่นชอบการใช้เครื่องมือสงคราม Siege และฝั่ง Skellige ที่เน้นการโจมตีระยะประชิด ในแต่ละสำรับก็จะมีการ์ดพิเศษที่เราเรียกว่าการ์ดหัวหน้าหรือการ์ดกษัตริย์ที่สามารถใช้ได้เพียงทีละครั้งเท่านั้น ซึ่งมักจะเป็นการ์ดที่มีความสามารถพิเศษหาไม่ได้ในการ์ดยูนิตปกติ อาทิ Eredin การ์ดกษัตริย์ของฝั่งมอนสเตอร์ที่สามารถสร้างร่างแยกแล้วลงสนามได้ มีค่าคะแนนถึง 15 ที่สำคัญเป็นการ์ดสีทองดังนั้นไม่มีอะไรสามารถทำร้ายได้ หรือการ์ดของฝั่ง Skellige ที่เป็นการจั่วกำลังเสริมออกมาอีก 2 ยูนิตลงสนาม เป็นต้น
จากกฏที่ผมพยายามอธิบายมานี้ ทำให้ Gwent มีจุดสำคัญหลักๆ ต่างกับเกมอื่นที่วัดที่ความสามารถยูนิต ในเกมนี้ การจัด Deck คือสิ่งชี้ชะตาของจริง มันคือตัววัดเลยว่า คุณจัดอะไรมาบ้าง แล้ว และจะเป็นตัวชี้ชะตาเลยว่า Deck ของเรานั้น มีคุณภาพเพียงใด เอาการ์ดไปเยอะๆ นั่นหมายถึงโอกาสสุ่มจั่วที่มั่วมากขึ้น โอกาสได้การ์ดคุณภาพก็น้อยลง โอกาสชนะก็น้อยลงตามลำดับ
ทั้งนี้ตัว Kill The Server นั้นไม่ใช่เวอร์ชั่นเกมเต็ม ตัวเกมไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้เล่นอย่างผมนั้นสามารถจัด Deck ตามใจฉันได้ เพราะเป็นเพียงเวอร์ชั่นทดสอบเซิฟเวอร์ของทาง CD Projeck RED เท่านั้นว่าสามารถรองรับผูเล่นได้มากแค่ไหนก่อนที่เซิฟเวอร์จะล่ม ทุกสำรับนั้นจะถูกทาง CD Projeck RED จัดมาหมดแล้ว หมอสิทธิ์เลือก
ทั้งนี้ก็ยังมีบางข้อบางส่วนที่ผมอยากจะบ่นเกี่ยวกับเกมอยู่บ้าง ข้อแรกเลยคือความสมดุล การ์ดฝั่ง Monster นั้นถูกจัดว่าโกงเอามากๆ มากถึงมากที่สุด แทบทุกยูนิตที่เป็นของฝั่ง Monster มักเป็นการ์ด Wild Hunt ที่ทนพายุ นั่นหมายถึงว่าการ์ดเรียกพายุหิมะที่ปกติจะลดคะแนนยูนิตนั้นไม่มีผลอะไรกับพวก Wild Hunt เลยแม้แต่นิดเดียว ด้านฝั่งเอลฟ์และคนแคระกลับแย่ยอดแย่เป็นที่สุด Effect ยูนิตส่วนใหญ่ไม่มีประโยชน์อะไร ความสามารถก็ไร้ความน่าสนใจ ตรงนี้อยากจะเห็นพัฒนาการอย่างเร็วที่สุด ไม่งั้นทั้งเกมคงจะมีแต่คนเลือกสำรับ Monster แน่นอน
ผมลองเล่นมันทุกสำรับที่มีให้ทดสอบในช่วง Kill The Server และพบว่าไม่มีอะไรแกร่งไปกว่าฝั่ง Monster ที่ทาง CDPR จัดเอาไว้ให้อีกแล้ว มีคอมโบมากมายที่สามารถเข้าจังหวะเป็นชุดๆ ได้อย่างเป๊ะๆ ต่างกับฝั่งอื่นๆ อย่างชัดเจน ทั้งที่โดยปกติแล้วใน The Witcher 3 ผมจะใช้แต่ฝั่ง Northern ทางเหนือที่แกร่งที่สุด แต่ ณ จุดๆนี้ ฝั่งเหนือนั้นแย่พอๆกับคนแคระกับเอลฟ์เลย
ข้อต่อมาคือดีเลย์ เคราะห์ดีที่ตลอด 4 ชั่วโมงนั้นไม่มีปัญหาเซิฟเวอร์ล่มเลย แต่ปัญหาที่ดูจะร้ายแรงกว่าคือความดีเลย์มหากาศเนี่ยล่ะ ตัวเกมนั้นค่อนข้างหน่วงมากในบางจังหวะ กดวางการ์ดบนสนามทีรอเป็นสิบๆวิ แบบนี้ก็ไม่ไหว คิดว่าช่วง Closed Beta เดือนหน้ามาน่าจะเพียบพร้อมกว่านี้ล่ะนะ
Gwent ไม่ใช่เกมการ์ดสงคราม ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องโจมตียูนิตฝั่งตรงข้าม คำนวณค่าป้องกันอะไรแต่อย่างใด สิ่งเดียวที่สำคัญคือการจับจังหวะและคะแนนรวมของยูนิตฝั่งเราที่ลงสนาม นี่เป็นเสน่ห์สำคัญที่จะทำให้ Gwent สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าเกมการ์ดแบบอื่นๆ ในตลาด ด้วยแนวการเล่นที่เรียบง่าย ใครเล่นเกมการ์ดหรือไพ่ Poker อะไรพวกนี้เป็นก็สามารถเรียนรู้และสนุกกับมันได้ในเวลาไม่ถึงสิบนาที นี่ทำให้ Gwent เป็นเกมการ์ดที่มีแววว่าจะประสบความสำเร็จในตลาดแมสสูงที่สุดนับตั้งแต่มีเกมการ์ดจาก Blizzard อย่าง Heartstone มา
Gwent เตรียมเปิด Closed Beta ในเดือนตุลาคมนี้ บนทั้ง PC,PS4 และ XBOX ONE
เมื่อวันก่อนผมได้มีโอกาสแทรกตนเองเข้าไปในช่วง Kill The Server ได้ วันนี้ก็เลยจะมาบ่นยาวๆ เกี่ยวกับเกมนี้ให้อ่านกันว่า มันเป็นอย่างไรบ้าง ตามมากันเลย
Gwent - The Witcher Card Games นั้น ถ้าใครเคยเล่น Gwent ใน The Witcher 3 มาก่อนก็น่าจะคุ้นเคยกับกฏระเบียบได้ไม่ยาก ผู้เล่นทั้งสองฝั่งจะได้รับการ์ดในสำรับคนละ 10 ใบโดยประมาณ หน้าที่ของเราก็คือเราจะต้องวางการ์ดยูนิตของเราอย่างไรก็ได้ให้มีคะแนนที่สูงกว่าฝั่งคู่แข่ง การ์ดแต่ละใบก็จะมีตัวเลขค่าบอกแตกต่างกันไป ต่างกับเกมการ์ดอื่นๆ นี่ไม่ใช่เกมการ์ดแนวที่ว่าต้องอ่านความสามารถ แล้วโจมตีการ์ดคู่แข่งหรือตัวคู่แข่งเหมือนพวกยูกิอะไรแบบนั้น นี่เป็นเกมการ์ดเรียบง่ายที่วัดกันว่าใครดวงดีและวางการ์ดได้ถูกจังหวะกว่ากันเป็นหลักมากกว่า ใครมีคะแนนเยอะกว่ากันก็ชนะศึกไป แต่ละรอบนั้นผู้เล่นฝั่งใดฝั่งหนึ่งจำเป็นที่จะต้องชนะ 2 ใน 3 รอบจึงจะถือว่าชนะอย่างแท้จริง
ยูนิตของเราจะแยกออกเป็นสามหมวด หมวดโจมตีประชิด หมวดมือธนู โจมตีระยะไกล และหมวด Siege เครื่องมือสงคราม (จำพวกเครื่องยิงหินอะไรเทือกนี้) แต่ละยูนิตก็จะแยกประเภทออกกันไปอย่างชัดเจน ดาบก็อยู่ส่วนดาบ ธนูก็อยู่ส่วนธนู เป็นต้น ทั้งนี้การแยกหมวดไม่มีผลใดๆ ต่อเกมครับ ทุกอย่างสำคัญอยู่ที่ค่าคะแนนของไพ่ยูนิตตัวนั้นๆ อย่างเดียว ดังนั้นวางๆ ไปเถอะถ้ามันทำให้เรามีโอกาสชนะ ไม่ต้องเสียดายหรือกังวลว่ามันมีธนูเยอะเรามีแต่การ์ดโจมตีประชิดแบบนี้เสียเปรียบแน่นอนอะไรเทือกนี้ เพราะทุกอย่างในเกมนั้นขึ้นอยู่กับคะแนนรวมของทุกๆ ยูนิตอย่างเดียวครับ
ใน The Witcher 3 มีการ์ดเพียงสองระดับในขณะที่ Gwent ถูกเพิ่มเป็นสามระดับด้วยกัน นั่นคือทองแดง เงิน และทอง ใน The Witcher 3 จะมีเพียงการ์ดเงินที่เปรียบเสมือนการ์ดธรรมดา และการ์ดทอง ซึ่งหมายถึงการ์ดฮีโร่ มักจะมีค่าพลังที่สูง แต่ Gwent จะมีการ์ดทองแดงเพิ่มเข้ามา เป็นระดับที่ต่ำกว่าเงินและมักจะไม่ได้มีค่าอะไรนัก การ์ดสีทองมีความพิเศษคือไม่มีอะไรสามารถทำร้ายการ์ดสีทองได้ หมายถึงว่าไม่ว่าฝั่งตรงข้ามจะใช้เอฟเฟคต์ใด การ์ดสีทองก็จะไม่ได้รับผลกระทบ ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถรับบัฟเพิ่มค่าคะแนนได้เช่นกัน เป็นการ์ดที่มีจำนวนน้อยและผู้เล่นควรจะเก็บเอาไว้ใช้ในยามจำเป็นเท่านั้น
การ์ดแต่ละใบก็จะมีการแยกคุณภาพออกไปอีกหลายระดับ ทั้งนี้ผมยังไม่แน่ใจว่ามีกี่ระดับ แต่เท่าที่เจอก็มี Common, Epic, Rare เป็นหลัก คาดว่าน่าจะหมายถึงความหายากเป็นหลัก อย่าง Common ก็จะดรอปจากในเกมเลย แต่ Rare จำเป็นต้องร่วมกิจกรรมอะไรบางอย่างจึงจะได้มาอะไรทำนองนี้
ใน Gwent เองนั้นยังมีการ์ด Special Effect ที่จะช่วยหรือทำร้ายผู้เล่นเสียเองเพิ่มเข้ามามากมาย จากใน The Witcher ที่มีแค่การ์ดที่จะเผายูนิตฝั่งตรงข้ามที่มีแต้มสูงๆ หรือการ์ดเปลี่ยนสภาพอากาศของแถวๆนั้น ให้ค่าของทุกยูนิตถูกลดเหลือ 1 ทุกใบของหมวดๆนั้น มาใน Gwent คุณจะได้พบกับนักเวทย์ที่สามารถเลือกได้ว่าจะร่ายพายุหิมะ ที่จะลดคะแนนยูนิตโจมตีประชิดของฝั่งตรงข้ามให้เหลือ 1 ทุกตัว, หมอกที่จะลดคะแนนยูนิตโจมตีไกลให้เหลือ 1 และฝนที่จะลดคะแนนยูนิต Siege เหลือ 1, การ์ดกำจัดไพ่ยูนิตที่มีคะแนนต่ำที่สุดในสนาม และอีกมากมายอธิบายกันได้ทั้งวัน
ยูนิตส่วนใหญ่ใน Gwent นั้น ต่างกับ The Witcher 3 ที่ส่วนใหญ่มักจะไม่มี Status ความสามารถพิเศษใดๆ แทบทุกตัวใน Gwent จะมีความสามารถพิเศษหมด นี่ทำให้ผู้เล่นจำเป็นต้องมีการวางแผนมากกว่าเดิม ไพ่ยูนิตบางใบจะเพิ่มพลังหากถูกฟื้นคืนชีพภายในสุสาน ไพ่ยูนิตบางตัวจะยังอยู่ในสนามแม้ว่าจะเริ่มรอบใหม่แล้วก็ตาม บางตัวก็อาจจะจั่วการ์ดให้ฝั่งเราสองใบ แลกกับฝั่งศัตรูขั่งการ์ดตัวเองหนึ่งใบอะไรทำนองนี้
ทั้งนี้ผู้เล่นทุกคนจำเป็นต้องเลือกสำรับเสียก่อนที่จะตะลุยไปในโลกของ Gwent ได้ สำรับภายในเกมนั้นจะแยกเป็นฝั่งๆ อาทิฝั่ง Monster เน้นหมาหมู่ และพลังโจมตี, ฝั่งเอลฟ์และคนแคระที่มักจะเน้นยูนิตธนู ฝั่งเหนือที่ชื่นชอบการใช้เครื่องมือสงคราม Siege และฝั่ง Skellige ที่เน้นการโจมตีระยะประชิด ในแต่ละสำรับก็จะมีการ์ดพิเศษที่เราเรียกว่าการ์ดหัวหน้าหรือการ์ดกษัตริย์ที่สามารถใช้ได้เพียงทีละครั้งเท่านั้น ซึ่งมักจะเป็นการ์ดที่มีความสามารถพิเศษหาไม่ได้ในการ์ดยูนิตปกติ อาทิ Eredin การ์ดกษัตริย์ของฝั่งมอนสเตอร์ที่สามารถสร้างร่างแยกแล้วลงสนามได้ มีค่าคะแนนถึง 15 ที่สำคัญเป็นการ์ดสีทองดังนั้นไม่มีอะไรสามารถทำร้ายได้ หรือการ์ดของฝั่ง Skellige ที่เป็นการจั่วกำลังเสริมออกมาอีก 2 ยูนิตลงสนาม เป็นต้น
จากกฏที่ผมพยายามอธิบายมานี้ ทำให้ Gwent มีจุดสำคัญหลักๆ ต่างกับเกมอื่นที่วัดที่ความสามารถยูนิต ในเกมนี้ การจัด Deck คือสิ่งชี้ชะตาของจริง มันคือตัววัดเลยว่า คุณจัดอะไรมาบ้าง แล้ว และจะเป็นตัวชี้ชะตาเลยว่า Deck ของเรานั้น มีคุณภาพเพียงใด เอาการ์ดไปเยอะๆ นั่นหมายถึงโอกาสสุ่มจั่วที่มั่วมากขึ้น โอกาสได้การ์ดคุณภาพก็น้อยลง โอกาสชนะก็น้อยลงตามลำดับ
ทั้งนี้ตัว Kill The Server นั้นไม่ใช่เวอร์ชั่นเกมเต็ม ตัวเกมไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้เล่นอย่างผมนั้นสามารถจัด Deck ตามใจฉันได้ เพราะเป็นเพียงเวอร์ชั่นทดสอบเซิฟเวอร์ของทาง CD Projeck RED เท่านั้นว่าสามารถรองรับผูเล่นได้มากแค่ไหนก่อนที่เซิฟเวอร์จะล่ม ทุกสำรับนั้นจะถูกทาง CD Projeck RED จัดมาหมดแล้ว หมอสิทธิ์เลือก
ทั้งนี้ก็ยังมีบางข้อบางส่วนที่ผมอยากจะบ่นเกี่ยวกับเกมอยู่บ้าง ข้อแรกเลยคือความสมดุล การ์ดฝั่ง Monster นั้นถูกจัดว่าโกงเอามากๆ มากถึงมากที่สุด แทบทุกยูนิตที่เป็นของฝั่ง Monster มักเป็นการ์ด Wild Hunt ที่ทนพายุ นั่นหมายถึงว่าการ์ดเรียกพายุหิมะที่ปกติจะลดคะแนนยูนิตนั้นไม่มีผลอะไรกับพวก Wild Hunt เลยแม้แต่นิดเดียว ด้านฝั่งเอลฟ์และคนแคระกลับแย่ยอดแย่เป็นที่สุด Effect ยูนิตส่วนใหญ่ไม่มีประโยชน์อะไร ความสามารถก็ไร้ความน่าสนใจ ตรงนี้อยากจะเห็นพัฒนาการอย่างเร็วที่สุด ไม่งั้นทั้งเกมคงจะมีแต่คนเลือกสำรับ Monster แน่นอน
ผมลองเล่นมันทุกสำรับที่มีให้ทดสอบในช่วง Kill The Server และพบว่าไม่มีอะไรแกร่งไปกว่าฝั่ง Monster ที่ทาง CDPR จัดเอาไว้ให้อีกแล้ว มีคอมโบมากมายที่สามารถเข้าจังหวะเป็นชุดๆ ได้อย่างเป๊ะๆ ต่างกับฝั่งอื่นๆ อย่างชัดเจน ทั้งที่โดยปกติแล้วใน The Witcher 3 ผมจะใช้แต่ฝั่ง Northern ทางเหนือที่แกร่งที่สุด แต่ ณ จุดๆนี้ ฝั่งเหนือนั้นแย่พอๆกับคนแคระกับเอลฟ์เลย
ข้อต่อมาคือดีเลย์ เคราะห์ดีที่ตลอด 4 ชั่วโมงนั้นไม่มีปัญหาเซิฟเวอร์ล่มเลย แต่ปัญหาที่ดูจะร้ายแรงกว่าคือความดีเลย์มหากาศเนี่ยล่ะ ตัวเกมนั้นค่อนข้างหน่วงมากในบางจังหวะ กดวางการ์ดบนสนามทีรอเป็นสิบๆวิ แบบนี้ก็ไม่ไหว คิดว่าช่วง Closed Beta เดือนหน้ามาน่าจะเพียบพร้อมกว่านี้ล่ะนะ
Gwent ไม่ใช่เกมการ์ดสงคราม ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องโจมตียูนิตฝั่งตรงข้าม คำนวณค่าป้องกันอะไรแต่อย่างใด สิ่งเดียวที่สำคัญคือการจับจังหวะและคะแนนรวมของยูนิตฝั่งเราที่ลงสนาม นี่เป็นเสน่ห์สำคัญที่จะทำให้ Gwent สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าเกมการ์ดแบบอื่นๆ ในตลาด ด้วยแนวการเล่นที่เรียบง่าย ใครเล่นเกมการ์ดหรือไพ่ Poker อะไรพวกนี้เป็นก็สามารถเรียนรู้และสนุกกับมันได้ในเวลาไม่ถึงสิบนาที นี่ทำให้ Gwent เป็นเกมการ์ดที่มีแววว่าจะประสบความสำเร็จในตลาดแมสสูงที่สุดนับตั้งแต่มีเกมการ์ดจาก Blizzard อย่าง Heartstone มา
Gwent เตรียมเปิด Closed Beta ในเดือนตุลาคมนี้ บนทั้ง PC,PS4 และ XBOX ONE
Post a Comment